วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีพหุปัญญา(Theory of Multiple Intelligences)

         ทฤษฎีพหุปัญญา(Theory of Multiple Intelligences)  (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/)  เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2554  กล่าวไว้ว่า    ทฤษฏีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ  2  ประการ คือ
1.  เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น  แต่มีอยู่อย่าง      หลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน  ประกอบด้วย 
     -   เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic intelligence)
     -   เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical mathematical intelligence) 
     -   สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial intelligence) 
     -   เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical intelligence)
     -   เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily kinesthetic intelligence)
     -   เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal intelligence)
     -   เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal intelligence)
     -   เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist intelligence)
เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้  คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น  และมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน 
2.   เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้  หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
   ทฤษฎีพหุปัญญา(Theory of Multiple Intelligences)  ( http://www.niteslink.net/web/) เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2554  ได้กล่าวไว้ว่า     ทฤษฏีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ  2  ประการ คือ
1.  เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน  ประกอบด้วย 
            -   เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic intelligence)
             -   เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical mathematical intelligence) 
            -   สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial intelligence) 
            -   เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical intelligence)
            -   เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily kinesthetic intelligence)
            -   เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal intelligence)
            -   เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal intelligence)
            -   เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist intelligence)
      เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้  คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น  และมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน  ความสามารถที่ผสมผสานกันออกมา  ทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน
       2.   เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้  หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายที่สามารถส่งเสริมเชาวน์ปัญญาหลายๆ ด้าน  ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน  การสอนควรเน้นการส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียน  ครูควรสอนโดนเน้นให้ผู้เรียนค้นหาเอกลักษณ์ของตน  ภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของตนเอง  และเคารพในเอกลักษณ์ของผู้อื่น รวมทั้งเห็นคุณค่าและเรียนรู้ที่จะใช้ความแตกต่างของแต่ละบุคคลให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม  ระบบการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินหลายๆ ด้าน  และในแต่ละด้านควรเป็นการประเมินในสภาพการณ์ของปัญหาที่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยอุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้นๆ  การประเมินจะต้องครอบคลุมความสามารถในการแก้ปัญหาหรือการสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้อุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้นๆ อีกวิธีหนึ่ง
ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences) ( http://dontong52.blogspot.com) เข้าถึงวันที่ 26 มิถุนายน 2554   ผู้บุกเบิกทฤษฎีนั้ คือ การ์ดเนอร์ จากมหาวิทยาลัยอาร์วาร์ด ได้ให้คำนิยาม เชาว์ปัญญา” (Intelligence)ไว้ว่า หมายถึง ความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ หรือการสร้างสรรค์ผลงานต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรมในแต่ละแห่ง
การ์ดเนอร์มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการ คือ
 เชาว์ปัญญาของบุคคลมี 8 ประการด้วยกัน ได้แก่
       -  เชาว์ปัญญาด้านภาษา
       -  เชาว์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์ หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ
       -  สติปัญญาด้านมิตรสัมพันธ์
     -  เชาว์ปัญญาด้านดนตรี
     -  เชาว์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ
      -  เชาว์ปัญญาด้านการสัมพันธ์กับผู้อื่น
      -  เชาว์ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง
      -  เชาว์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ
2. เชาว์ปัญญาของแต่ละคนจะไม่อยู่คงที่ แต่สามารถ
เปลี่ยนแปลงได้หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
สรุป
               เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้  หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม   การสอนควรเน้นการส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียน  ภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของตนเอง  และเคารพในเอกลักษณ์ของผู้อื่น รวมทั้งเห็นคุณค่าและเรียนรู้ที่จะใช้ความแตกต่างของแต่ละบุคคลให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม    การประเมินจะต้องครอบคลุมความสามารถในการแก้ปัญหาหรือการสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้อุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้นๆ อีกวิธีหนึ่ง

 อ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น