วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน
รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน
http://sirinapa005.blogspot.com/2010/08/blog-post.htmlเข้าถึงเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2554  ได้กล่าวไว้ว่า
                      อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง (2545:ไม่ระบุ) กล่าวว่า สื่อหมายมิติเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการนำเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถรับข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่มีความสามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็วและเพิ่มความสามารในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์ ภาพกราฟฟิก ภาพนิ่ง ภาพสามมิติ ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้ใช้หรือผู้เรียนสามารถสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบมากขึ้นกว่าเดิมจากความสามารถของสื่อหลายมิติที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบได้อย่างรวดเร็วนี้เอง ปัจจุบันสื่อหลายมิติได้มีการพัฒนาโดยผสมผสานเทคนิคและเทคโนโลยีที่ทันสมัยไปอย่างรวดเร็วโดยทั่วไปนั้นส่วนใหญ่เป็นการผสมผสานสื่อหลากหลายชนิดและเชื่อมโยงไปสู่แหล่งข้อมูลอื่นที่น่าสนใจ จนกระทั่งเกิดการค้นหาวิธีและพัฒนาไปสู่แนวทางใหม่ของสื่อหลายมิติ ที่เรียกว่า สื่อหลายมิติแบบปรับตัว หมายถึง ความสัมพันธ์กันระหว่างสื่อหลายมิติกับรูปแบบการเรียนของผู้เรียน ทั้งนี้สื่อหลายมิติที่ได้รับการออกแบบอย่างถูกต้องและเป็นระบบจะช่วยตอบสนองให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามความสามารถและความต้องการของผู้เรียน เป็นการดึงดูดความสนใจของผู้เรียนและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบรายบุคคลและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามศักยภาพได้โดยแบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบหลัก คือ
1.รูปแบบหลัก
2. รูปแบบผู้เรียน
3. รูปแบบการปรับตัว

       
http://sirinapa005.blogspot.com/2010/08/blog-post.htmlเข้าถึงเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2554  ได้กล่าวไว้ว่า
   วิเศษศักดิ์ โคตรอาชา (http://www.images.minint.multiply.multiplycontent.com) กล่าวว่า สื่อหลายมิติกับการเรียนการสอนจากความสามารถของสื่อหลายมิติที่ช่วยให้ผู้สืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบได้อย่างรวดเร็วนี้เอง ทำให้สถาบันการศึกษาหลายแห่งมีการใช้สื่อหลายมิติในการเรียนการสอนในระดับชั้นและวิชาเรียนต่างๆ แล้วในปัจจุบัน


ประโยชน์ของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน
1. เรียกดูความหมายของคำศัพท์ ที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจได้ทันที
2. ขยายความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนด้วยการ
      - ดูแผนภาพหรือวาดภาพ
      - ดูภาพถ่าย ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกจากเครื่องเล่นแผ่นวีดิทัศน์
     - ฟังเสียงคำอธิบายที่เป็นเสียงพูดหรือฟังเสียงดนตรี
3. ใช้สมุดบันทึกที่มีอยู่ในโปรแกรมเพื่อบันทึกใจความสำคัญของบทเรียน

          กิดานันท์ มลิทอง (2540: ไม่ระบุ) กล่าว่า รูปแบการเรียน เป็นการออกแบบระบบที่ให้ความสำคัญกับรูปแบบการเรียนรู้และคุณลักษณะของผู้เรียนแต่ละคนที่เหมาะสมกับข้อมูลสารสนเทศและเนื้อหาที่นำเสนอ เพื่อการตอบสนองแบบรายบุคคล ซึ่งเป็นหลักสำคัญของสื่อหลายมิติแบบปรับตัว ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาจึงได้ศึกษาเกี่ยวกับแบบการเรียนหรือวิธีการเรียนของนักเรียนแบบต่างๆ ได้แก่

Rita Dum และ Ken Dunn (1987) ได้แบ่งแบบการเรียนของนักเรียนออกเป็น 5 แบบ คือ

1. นักเรียนรู้ด้วยการฟัง นักเรียนแบบนี้จะรับรู้ข้อมูลได้ดีด้วยการฟังและมักใช้การ
 พูดโต้ตอบมากกว่าการอ่าน ชอบฟังการบรรยาย การเล่าเรื่อง ชอบฟังเพลง ชอบการอภิปราย ชอบดูภาพ แผนภูมิ แผนภาพ ออเทไนเซอร์แบบกราฟิกจึงเป็นเครื่องมือสำคัญ นักเรียนกลุ่มนี้ยังเรียนได้ดีจากสี เพราะจะมีความหมายกับพวกเขา
2. นักเรียนที่เรียนด้วยการสัมผัส นักเรียนแบบนี้จะรับรู้ข้อมูลไดดีด้วยการสัมผัส แตะต้อง เช่น การเขียน การวาดภาพ
3. นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยการเคลื่อนไหว นักเรียนแบบนี้จะรับรู้ของข้อมูลได้ดีด้วยการลงมือกระทำและด้วยการเคลื่อนไหวที่ไปมา นักเรียนจึงชอบกิจกรรมที่มีความและสัมพันธ์กับชีวิต
4. นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยการสัมผัสและการเคลื่อนไหว ต้องการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
               David Kolb (1981) ได้จำแนกแบบการเรียนเป็น 4 แบบ โดยยึดหลักการเรียนรู้อิงประสบการณ์ ดังนี้
        แบบปรับปรุง บุคคลแบบนี้ชอบลงมือปฏิบัติทดลองสิ่งใหม่ ทำงานได้ดี ชอบสร้างสรรค์ ลองผิดลองถูก
        แบบคิดเอกนัย บุคคลแบบนี้ต้องการรู้เฉพาะเรื่องที่มีประโยชน์และใช้ได้กับสถานการณ์หนึ่งๆ เท่านั้น
        แบบดูดซึม บุคคลแบบนี้ชอบการค้นคว้า อ่าน วิจัย และศึกษาอย่างเลาะลึก
        แบบอเนกนัย บุคคลแบบนี้ให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมรอบตัวที่สุขสบาย
        นอกจากรูปแบบการเรียนรู้ที่มีส่วนสำคัญในการออกแบบรูปแบบผู้เรียนในสื่อหลายมิติการปรับตัวแล้วในปัจจุบันไว้ให้ความสนใจกับการแบบคิด ซึ่งเป็นความแตกต่างระหว่างบุคคลในการรับรู้ การจำ การคิด

แบบการคิด สามารถแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ

1. ฟิลด์ อินดิเพนเดนท์ เป็นรูปแบบการคิดของบุคคลที่เป็นอิสระ จากการลวงของภาพที่เป็นพื้นฐานได้มากสามารถวิเคราะห์จำแนกสิ่งเร้าได้ดี ผู้ที่มีแบบความคิดแบบนี้จะสามารถเข้าถึงเนื้อหาส่วนย่อยที่เป็นส่วนประกอบของเนื้อหาสาระส่วนรวม

2. ฟิลด์ ดิเพนเดนท์ เป็นรูปแบบการคิดของบุคคลที่มีลักษณะการคิดวกวน สับสน อันเนื่องมาจากอิทธิพลการลองของภาพที่เป็นพื้น จนขาดการพินิจพิเคราะห์ในสาระที่ได้รับบุคคลแบบนี้จึงมองสิ่งต่างๆ ในภาพรวมได้ดี


รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง
                  สื่อหลายมิติ ( 2000 : 165 ) ความหมาย   สื่อหลายมิตินั้นเป็นสื่อประสมที่พัฒนามาจากข้อความหลายมิติ ซึ่งแนวความคิดเกี่ยวกับข้อ ความหลายมิติ (hypertext) นี้มีมานานหลายสิบปีแล้ว โดย แวนนิวาร์ บุช (Vannevar Bush) เป็นผู้ ที่มีความคิดริเริ่มเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยเขากล่าวว่าน่าจะมีเครื่องมืออะไรสักอย่างที่ช่วยในเรื่อง ความจำและความคิดของมนุษย์ที่จะช่วยให้เราสามารถสืบค้นและเรียกใช้ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ได้ หลาย ๆ ข้อมูลในเวลาเดียวกันเหมือนกับที่คนเราสามารถคิดเรื่องต่าง ๆ ได้หลายเรื่องในเวลาเดียวกัน
                      จากแนวคิดดังกล่าว เท็ด เนลสัน และดั๊ก เอนเจลบาร์ต ได้นำแนวคิดนี้มาขยายเป็นรูปเป็น ร่างขึ้น โดยการเขียนบทความหรือเนื้อหาต่าง ๆ กระโดยข้ามไปมาได้ในลักษณะที่ไม่เรียงลำดับเป็น เส้นตรงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า ไฮเพอร์เท็กซ์หรือข้อความหลายมิติ โดยการใช้ คอมพิวเตอร์ช่วย แนวคิดเริ่มแรกของสื่อหลายมิติคือความต้องการเครื่องมือช่วยในการคิดหรือการ จำที่ไม่ต้องเรียงลำดับ และสามารถคิดได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน
                       ข้อความหลายมิติ  Hypertext หรือข้อความหลายมิติ คือเทคโนโนยีของการอ่านและการเขียนที่ไม่เรียงลำดับ เนื้อหากัน โดยเสนอในลักษณะของข้อความที่เป็นตัวอักษร หรือภาพกราฟิคอย่างง่าย ที่มีการ เชื่อมโยงถึงกัน เรียกว่า จุดต่อ” (node) โดยผู้ใช้สามารถเคลื่อนที่จากจุดต่อหนึ่งไปยังอีกจุดต่อ หนึ่งได้โดยการเชื่อมโยงจุดต่อเหล่านั้น
                        ข้อความหลายมิติ เป็นระบบย่อยของสื่อหลายมิติ คือเป็นการนำเสนอสารสนเทศที่ผู้อ่านไม่ จำเป็นต้องอ่านเนื้อหาในมิติเดียวเรียงลำดับกันในแต่ละบทตลอดทั้งเล่ม โดยผู้อ่านสามารถข้ามไปอ่านหรือค้นคว้าข้อมูลที่สนใจตอนใดก็ได้โดยไม่ต้องเรียงลำดับลักษณะข้อความหลายมิติอาจ เปรียบเทียบได้เสมือนกับบัตรหรือแผ่นฟิล์มใส หลาย ๆ แผ่นที่วางซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ในแต่ละแผ่นจะบรรจุข้อมูลแต่ละอย่างลงไว้
                        สื่อหลายมิติ (Hypermedia)  มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายและลักษณะของสื่อหลายมิติไว้ดังนี้
                        
น้ำทิพย์    วิภาวิน    (2542:53) กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ (Hypermedia) เป็นเทคนิคที่ต้องการใช้สื่อผสมอื่น ๆ ที่คอมพิวเตอร์สามารถนำเสนอได้ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว
                        วิเศษศักดิ์     โคตรอาชา   (2542:53)  กล่าวว่า สื่อหลายมิติ Hypermedia เป็นการขยายแนวความคิดจาก Hypertext อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถผสมผสานสื่อและอุปกรณ์หลายอย่างให้ทำงานไปด้วยกัน
             
              กิดานันท์    มลิทอง  (2540:269) กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพกราฟิคในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวได้หลายรูปแบบมากกว่าเดิม
         
สื่อหลายมิติในการเรียนการสอน
                 
การนำเสนอเนื้อหาแบบข้อความหลายมิติและสื่อหลายมิติเป็นการนำเสนอเนื้อหาในลักษณะของกรอบความคิดแบบใยแมงมุม ซึ่งเป็นกรอบความคิดที่เชื่อว่าจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับวิธีที่มนุษย์จัดระบบความคิดภายในจิต ดังนั้น ข้อความหลายมิติและสื่อหลายมิติจึงทำให้สามารถคัดลอกและจำลองเครือข่ายโยงใยความจำของมนุษย์ได้ การใช้ข้อความหลายมิติและสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนจึงช่วยให้ผู้เรียน
                     

วัฒนา นัทธี .2547(
http://www.edtechno.com/)เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2554   กล่าวไว้ว่า ลักษณะโคร่งสร้างของสื่อหลายมิติ โดยทั้วไปแล่งออกเป็น 3 แบบ
(1) รูปแบบหลัก(domain model:dm) เป็นรูปแบบโครงสร้างหลักของข้อมูลสารสนเทศทั้งหมดที่นำเสนอให้ผู้เรียน โดยรูปแบบหลักเปรียบเสมือนคลังของข้อมูลไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาประวัติ เนื้อแฟ้มข้อมูลนักเรียน
(2) รูปแบบของผู้เรียน(student model:sm) เป็นการออกแบบระบบที่ให้ความสำคัญกับรูปแบบการเรียนรู้ และคุณลักษณะของผู้เรียนแต่ละคนที่เหมาะสมกับข้อมูลสารสนเทศและเนื้อหาที่นำเสนอเพื่อการตอบสนองแบบรายบุคคล
(3) รูปแบบการปรับตัว เป็นรูปแบบของความสามารถในการปรับตัวของระบบ ที่สอดคล้องกับรูปแบบหลัก และรูปแบบของผุ้เรียน โดยรูปแบบการปรับตัว ( Apaptive Model:AM) เป็นการพัฒนาโปรแกรมหรือระบบที่สามารถนำมาปรับใช้สื่อหลายมิติแบบปรับตัวได้ โดยส่วนใหญ่นิยมพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีเว็ปเป็นฐาน (Web-Based Intruction)

กิดานันท์ มะลิทอง (
http://wongketkit.blogspot.com/) เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2554  ได้กล่าวไว้ว่าลักษณะของสื่อหลายมิติว่า
(1) ภาพนิ่ง
(2) ภาพเคลื่อนไหว
(3) ภาพถ่าย
(4) เสียงพูด
(5) เสียงดนตรี
ทั้งหมดนี้เป็นลักษณะของสื่อหลายมิติ ที่ผู้สอนจะนำไปใช้ในการเรียนการสอน ทำให้นักเรียนมีความใฝ่เรียนมากขึ้น และเป็นแรงจูงใจอีกอย่างหนึ่ง
สรุป

         รูปแบบผู้เรียน (User Model) เป็นการออกแบบระบบที่สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนรู้และแบบการคิด ซึ่งบ่งบอกถึงคุณลักษณะของผู้เรียนเป็นรายบุคคล ซึ่งทำให้สื่อหลายมิติแบบ
           ปรับตัวมีความยืดหยุ่นและสามารถตอบสนองผู้เรียนตามความต้องการและระดับความรู้ได้ทั้งในส่วนของการพัฒนาระบบรูปแบบของผู้เรียนจะมีความสามารถในการบันทึกและจดจำผู้เรียน รวมทั้งการปรับระบบให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้และข้อมูลต่างๆ ของผู้เรียน เมื่อ Login เข้าสู่ระบบ ซึ่งจะทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนแต่ละคนอย่างเหมาะสม
รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วย
     (1) รูปแบบหลัก
    (2) รูปแบบของผู้เรียน
 (3) รูปแบบการปรับตัวส่วนลักษณะของสื่อหลายมิติ ประกอบด้วย
     (1) ภาพนิ่ง
     (2) ภาพเคลื่อนไหว
     (3) ภาพถ่าย
     (4) เสียงพูด
    (5) เสียงดนตรี
บรรณานุกรม
รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน http://nurmal045.blogspot.com/2010/08/blog-post_5127.html

(
http://www.edtechno.com/)
(
http://wongketkit.blogspot.com/)

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สื่อการสอน คืออะไร

สื่อการสอน คืออะไร  http://reg.ksu.ac.th/ เข้าถึงเมื่อวันที่ 06 กรกฎาคม 2554 ได้กล่าวไว้ว่า
                   สื่อการสอน (Instruction Media) หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการใด ๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหะในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะและประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน สื่อการสอนแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติพิเศษและมีคุณค่าในตัวของมันเองในการเก็บและแสดงความหมายที่เหมาะสมกับเนื้อหาและเทคนิควิธีการใช้อย่างมีระบบ

คุณสมบัติของสื่อการสอน

         สื่อการสอนมีคุณสมบัติพิเศษ 3 ประการ คือ
                1. สามารถจัดยึดประสบการณ์กิจกรรมและการกระทำต่าง ๆ ไว้ได้อย่างคงทนถาวร ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ในอดีต
หรือปัจจุบัน ทั้งในลักษณะของรูปภาพ เสียง และสัญลักษณ์ต่าง ๆ สามารถนำไปใช้ได้ตามความต้องการ
                2. สามารถจัดแจงจัดการและปรุงแต่งประสบการณ์ต่าง ๆ ให้ใช้ได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน
เพราะสื่อการสอนบางชนิด สามารถใช้เทคนิคพิเศษเพื่อเอาชนะข้อจำกัดในด้านขนาด ระยะทาง เวลา และความเป็นนามธรรม
ของประสบการณ์ตามธรรมชาติได้
                3. สามารถแจกจ่ายและขยายของข่าวสารออกเป็นหลาย ๆ ฉบับเพื่อเผยแพร่สู่คนจำนวนมาก และสามารถใช้ซ้ำ ๆ ได้หลาย ๆ ครั้ง ทำให้สามารถแก้ปัญหาในด้านการเรียนการสอนต่าง ๆ ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียนได้เป็นอย่างดี

คุณค่าของสื่อการสอน
               
        1. เป็นศูนย์รวมความสนใจของผู้เรียน
        2. ทำให้บทเรียนเป็นที่น่าสนใจ
        3. ช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์กว้างขวาง
        4. ทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ร่วมกัน
        5. แสดงความหมายและสัญลักษณ์ต่าง ๆ
        6. ให้ความหมายแก่คำที่เป็นนามธรรมได้
        7. แสดงสิ่งที่ลี้ลับให้เข้าใจง่าย
        8. อธิบายสิ่งที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่ายขึ้น
        9. สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆ เกี่ยวกับเวลา ระยะทางและขนาดได้ เช่น
                9.1 ทำให้สิ่งที่เคลื่อนไหวช้าให้เร็วขึ้นได้
                9.2 ทำให้สิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลงได้
                9.3 ย่อสิ่งที่ใหญ่เกินไปให้เล็กลงได้
                9.4 ขยายสิ่งที่เล็กเกินไปให้ใหญ่ขึ้นได้
                9.5 นำสิ่งที่อยู่ไกลเกินไปมาศึกษาได้
                9.6 นำสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตมาให้ดูได้

คุณค่าของสื่อการสอน จำแนกได้ 3 ด้าน คือ

     1. คุณค่าด้านวิชาการ
            1.1 ทำให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ตรง
            1.2 ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่าและมากกว่าไม่ใช่สื่อการสอน
            1.3 ลักษณะที่เป็นรูปธรรมของสื่อการสอน ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของสิ่งต่าง ๆ ได้กว้างขวางและเป็นแนวทางให้เข้าใจสิ่งนั้น ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
             1.4 ส่วนเสริมด้านความคิด และการแก้ปัญหา
             1.5 ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ถูกต้อง และจำเรื่องราวได้มากและได้นาน
             1.6 สื่อการสอนบางชนิด ช่วยเร่งทักษะในการเรียนรู้ เช่น ภาพยนตร์ ภาพนิ่ง เป็นต้น
      2. คุณค่าด้านจิตวิทยาการเรียนรู้
             2.1 ทำให้เกิดความสนใจ และต้องเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น
             2.2 ทำให้เกิดความคิดรวบยอดเป็นเพียงอย่างเดียว
             2.3 เร้าความสนใจ ทำให้เกิดความพึงพอใจ และยั่วยุให้กระทำกิจกรรมด้วยตนเอง
     3. คุณค่าด้านเศรษฐกิจการศึกษา
             3.1 ช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้าเรียนได้เร็วและมากขึ้น
             3.2 ประหยัดเวลาในการทำความเข้าใจเนื้อหาต่าง ๆ
             3.3 ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เหมือนกันครั้งละหลาย ๆ คน
              3.4 ช่วยขจัดปัญหาเรื่องเวลา สถานที่ ขนาด และระยะทาง

ประเภทของสื่อการสอน
        การจำแนกสื่อการสอนตามคุณสมบัติ
              ชัยยงค์ พรมวงศ์ (2523 : 112) ได้กล่าวไว้ว่า สื่อการสอนแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
                  1. วัสดุ (Materials) เป็นสื่อเล็กหรือสื่อเบา บางทีเรียกว่า Soft Ware สื่อประเภทนี้ผุพังได้ง่าย เช่น
                       - แผนภูมิ (Charts)
                       - แผนภาพ (Diagrams)
                       - ภาพถ่าย (Poster)
                       - โปสเตอร์ (Drawing)
                       - ภาพเขียน (Drawing)
                       - ภาพโปร่งใส (Transparencies)
                       - ฟิล์มสตริป (Filmstrip)
                       - แถบเทปบันทึกภาพ (Video Tapes)
                       - เทปเสียง (Tapes) ฯลฯ
                 2. อุปกรณ์ (Equipment) เป็นสื่อใหญ่หรือหนัก บางทีเรียกว่า สื่อ Hardware สื่อประเภทนี้ได้แก่
                       - เครื่องฉายข้ามศีรษะ (Overhead Projectors)
                       - เครื่องฉายสไลค์ (Slide Projectors)
                       - เครื่องฉายภาพยนตร์ (Motion Picture Projectors)
                       - เครื่องเทปบันทึกเสียง (Tape Receivers)
                       - เครื่องรับวิทยุ (Radio Receivers)
                       - เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receivers)
                 3. วิธีการ เทคนิค หรือกิจกรรม (Method Technique or Activities) ได้แก่
                       - บทบาทสมมุติ (Role Playing)
                       - สถานการณ์จำลอง (Simulation)
                       - การสาธิต (Demonstration)
                       - การศึกษานอกสถานที่ (Field Trips)
                       - การจัดนิทรรศการ (Exhibition)
                       - กระบะทราย (Sand Trays)

       การจำแนกสื่อการสอนตามแบบ (Form)
            ชอร์ส (Shorse. 1960 : 11) ได้จำแนกสื่อการสอนตามแบบเป็นหมวดหมู่ดังนี้
                 1. สิ่งพิมพ์ (Printed Materials)
                       - หนังสือแบบเรียน (Text Books)
                       - หนังสืออุเทศก์ (Reference Books)
                       - หนังสืออ่านประกอบ (Reading Books)
                       - นิตยสารหรือวารสาร (Serials)
                 2. วัสดุกราฟิก (Graphic Materials)
                       - แผนภูมิ (Chats)
                       - แผนสถิติ (Graph)
                       - แผนภาพ (Diagrams)
                       - โปสเตอร์ (Poster)
                       - การ์ตูน (Cartoons)
                 3. วัสดุและเครื่องฉาย (Projector materials and Equipment)
                       - เครื่องฉายภาพนิ่ง (Still Picture Projector)
                       - เครื่องฉายภาพเคลื่อนไหว (Motion Picture Projector)
                       - เครื่องฉายข้ามศีรษะ (Overhead Projector)
                       - ฟิล์มสไลด์ (Slides)
                       - ฟิล์มภาพยนตร์ (Films)
                       - แผ่นโปร่งใส (Transparancies)
                 4. วัสดุถ่ายทอดเสียง (Transmission)
                       - เครื่องเล่นแผ่นเสียง (Disc Recording)
                       - เครื่องบันทึกเสียง (Tape Recorder)
                       - เครื่องรับวิทยุ (Radio Receiver)
                       - เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receiver)



สือ่การสอน  http://www.learners.in.th/blog/puukan/84882เข้าถึงเมื่อวันที่ 06 กรกฎาคม 2554 ได้กล่าวไว้ว่า
       สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้

     http://yupapornintreewon017.pageเข้าถึงเมื่อวันที่ 06 กรกฎาคม 2554 ได้กล่าวไว้ว่า  ต่อไปนี้เป็นคำจำกัดความของสื่อการสอน มีดังนี้
              สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้
                 บราวน์ และคณะ  (Brown and other. 1964: 584)  กล่าวว่า สื่อการสอนหมายถึง จำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดี ทั้งนี้มีความหมายรวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือเท่านั้น เช่น การศึกษานอกสถานที่  การแสดงบทบาท นาฏการ การสาธิต การทดลอง  ตลอดจนการสัมภาษณ์และการสำรวจ   เป็นต้น
                         
               เกอร์ลัช และอีลี ( ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2526:141: อ้างอิงมาจาก Gerlach and Ely.) ได้ให้คำจำกัดความของ สื่อการสอน ไว้ว่าสื่อการสอน คือ บุคคล วัสดุหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งทำให้นักเรียนได้รับความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ครู หนังสือ และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนจัดเป็นสื่อการสอนทั้งสิ้น
               ไฮนิคส์ โมเลนดาและรัสเซล(Heinich, Molenda and Russel. 1985 : 5) ให้ทัศนะเกี่ยวกับสื่อการสอนไว้ว่าสื่อการสอนหมายถึง สื่อชนิดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็น สไลด์ โทรทัศน์ วิทยุ เทปบันทึกเสียง ภาพถ่าย วัสดุฉายและวัตถุสิ่งตีพิมพ์ ซึ่งเป็นพาหนะในการนำข้อมูลจากแหล่งข้อมูลไปยังผู้รับ เมื่อนำมาใช้กับการเรียนการสอน หรือส่งเนื้อหาความรู้ไปยังผู้เรียนในกระบวนการเรียนการสอน เรียกว่า สื่อการสอน
              เปรื่อง กุมุท (2519: 1)  กล่าวว่า  สื่อการสอน หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องมือ หรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่วางไว้อย่างดี
               ไชยยศ เรืองสุวรรณ  (2526: 4)  กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึง สิ่งที่ช่วยให้การเรียนรู้ ซึ่งครูและนักเรียนเป็นผู้ใช้เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
                
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2529: 112) ให้ความหมายของสื่อการสอนว่า คือวัสดุ (สิ้นเปลือง) อุปกรณ์ ( เครื่องมือที่ใช้ไม่ผุพังง่าย) วิธีการ (กิจกรรม เกม การทดลอง ฯลฯ) ที่ใช้สื่อกลางให้ผู้สอนสามารถส่ง หรือถ่ายทอดความรู้ เจตคติ (อารมณ์ ความรู้สึก ความสนใจ ทัศนคติ และค่านิยม) และทักษะไปยังผู้เรียน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
            คณะนิสิตปริญญาโท, มศว. ประสานมิตร ( 2519) ได้ให้คำจำกัดความว่า “ สื่อการสอน หมายถึง สิ่งต่าง  ที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับการถ่ายทอด หรือนำความรู้หรือประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์

http://sayan201.blogspot.com/เข้าถึงเมื่อวันที่ 06 กรกฎาคม 2554 ได้กล่าวไว้ว่า
                สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ......ประเภทของสื่อการเรียนการสอน.
สื่อการเรียนการสอนแบ่งตามคุณลักษณะได้ 4 ประเภทคือ
1. สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่สไลด์ แผ่นใส เอกสาร ตำรา สารเคมี สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และคู่มือการฝึกปฏิบัติ
2. สื่อประเภทอุปกรณ์ ได้แก่ของจริง หุ่นจำลอง เครื่องเล่นเทปเสียง เครื่องเล่นวีดิทัศน์ เครื่องฉายแผ่นใส อุปกรณ์และเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ
3. สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ได้แก่การสาธิต การอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติการฝึกงาน การจัดนิทรรศการ และสถานการณ์จำลอง
4. สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ ได้แก่คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer presentation) การใช้ Intranet และ Internet เพื่อการสื่อสาร (Electronic mail: E-mail) และการใช้ WWW (World Wide Web)
สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามคุณสมบัติ
Wilbure Young ได้จัดแบ่งไว้ดังนี้
  1. ทัศนวัสดุ (Visual Materials) เช่น กระดานดำ กระดานผ้าสำลี) แผนภูมิ รูปภาพ ฟิล์มสตริป สไลด์ ฯลฯ
   2. โสตวัสดุ (Audio Materisls ) เช่น เครื่องบันทึกเสียง (Tape Recorder) เครื่องรับวิทยุ ห้องปฏิบัติการทางภาษา ระบบขยายเสียง ฯลฯ
   3. โสตทัศนวัสดุ (Audio Visual Materials) เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ
   4. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Equipments) เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายฟิล์มสตริปเครื่องฉายสไลด์
   5. กิจกรรมต่าง ๆ (Activities )เช่น นิทรรศการ การสาธิต ทัศนศึกษา ฯลฯ

สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามรูปแบบ(Form)Louis Shores ได้แบ่งประเภทสื่อการสอนตามแบบไว้ ดังนี้
   1. สิ่งตีพิมพ์ (Printed Materials) เช่น หนังสือแบบเรียน เอกสารการสอน ฯลฯ
   2 วัสดุกกราฟิก เช่น แผนภูมิ ( Charts) แผนสถิติ (Graph) แผนภาพ (Diagram) ฯลฯ
    3. วัสดุฉายและเครื่องฉาย (Projected Materials and Equipment) เช่น ภาพยนตร์ สไลด์ ฯลฯ
    4. วัสดุถ่ายทอดเสียง (Transmission) เช่น วิทยุ เครื่องบันทึกเสียง

สื่อการเรียนการสอนตามลักษณะและการใช้
1. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Hardware)
2. วัสดุ (Software)
3. เทคนิคหรือวิธีการ (Techinques or Methods)
5.ทำให้เด็กมีมโนภาพเริ่มแรกอย่างถูกต้องและสมบูรณ์

สรุป
             สื่อการสอน หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยนำและถ่ายทอดข้อมูลความรู้จากผู้สอนหรือจากแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน เป็นสิ่งที่ช่วยอธิบายและขยายเนื้อหาบทเรียนให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้นเพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์การเรียนที่ตั้งไว้   ซึ่งแบ่งออกได้เป็นสี่ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
            1. สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่สไลด์ แผ่นใส เอกสาร ตำรา สารเคมี สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และคู่มือการฝึกปฏิบัติ
            2. สื่อประเภทอุปกรณ์ ได้แก่ของจริง หุ่นจำลอง เครื่องเล่นเทปเสียง เครื่องเล่นวีดิทัศน์ เครื่องฉายแผ่นใส    อุปกรณ์และเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ
            3. สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ได้แก่การสาธิต การอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติการฝึกงาน การจัดนิทรรศการ และสถานการณ์จำลอง
            4. สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ ได้แก่คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer presentation) การใช้ Intranet และ Internet เพื่อการสื่อสาร (Electronic mail: E-mail) และการใช้ WWW (World Wide Web)

อ้างอิง